วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553
08 ทำดีไม่ได้ดีเพราะอะไร ?
ชีวิตของเราในแต่ละวัน เช่น มีความน้อยอกน้อยใจ พอใจ หรือ
ไม่พอใจ หรือโทษคนรอบข้างไม่ยุติธรรม
เหล่านี้เกิดจากอารมณ์ของเราทั้งสิ้น
แล้วก็แก้ตัวให้ตัวเองด้วยการอ้างอ้างเหตุผลอย่างโน้นอย่างนี้ เป็นต้น
มีหนังสือชื่อ ชำแหละกฎแห่งกรรม เขียนโดย
ร.ต. เจ้าประเวศ ณ เชียงใหม่ อ่านแล้วทำให้ผมเปลี่ยนความคิด
"ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป"
หันมา ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
ข้อความเหล่านั้น มีดังนี้
1. ทำดีกับคนเลวกับคนเนรคุณ ได้ผลดีน้อยมากหรือไม่ได้เลย
ทำดีกับคนดี ได้ผลของความดีมากมาย
2. ตัวเองทำความดีเสมอ แต่ขณะเดียวกันก็ขัดขวางความดีผู้น้อย
หรือกันท่าไม่ให้เพื่อนฝูงทำความดี ด้วยผลกรรมอันนั้นทำให้
การเลื่อนยศเลื่อนตำแหน่งแต่ละครั้ง มีคนคอยขัดขวาง
หรือมีคนอื่นตัดหน้าแซงตัวไปก่อนเสมอ
3. ตัวเองทำความดีเสมอ แต่โอกาสเดียวกันก็ทำความชั่วไปด้วย
คือความดีมีความชั่วเป็นตัวถ่วง ผลของกรรมดีจึงชักช้า หรือ
ผลของกรรมดีมีความทุกข์แทรกแซงปะปนด้วย
4. ตนเองเป็นคนทำความดีเสมอ แต่ไม่ห้ามปรามบริวาร
คนข้างเคียงทำความชั่ว ปล่อยให้คนในบังคับบัญชาทำความผิด
ทำบาปโดยไม่ตักเตือนท้วงติง ความดีจะตอบสนองผู้กระทำ
ด้วยทรัพย์สมบัติ ด้วยตำแหน่งหน้าที่การงาน แต่สิ่งที่ได้มา
ไม่เป็นประโยชน์แก่ตนเท่าที่ควร กลับเป็นประโยชน์แก่คนอื่นๆ
เป็นส่วนใหญ่ เช่น ได้รถประจำตำแหน่ง น้องเมียเอาไปใช้
มีคนรบกวนหยิบยืมของใช้หรือสมบัติส่วนตัว เป็นต้น
5. ตนเองประพฤติดีประพฤติชอบเสมอ แต่ริษยากลัวคนอื่นจะ
ได้ความดีเท่าเทียมตัวหรือมากกว่าตัว จึงกลั่นแกล้งหน่วงเหนี่ยว
ผลงานของคนอื่นไว้ รีบเสนอแต่ความดีของตนไปก่อน
ความริษยาจะทำให้ผลของความดีของตนเองสนองตอบช้า
ขัดข้องด้วยระเบียบข้อบังคับ ล่าช้าเพราะดินฟ้าอากาศ
เงินเดือนเต็มขั้นนานแล้ว ยังไม่ได้เลื่อนตำแหน่ง
ต้องรอไป เพราะไม่มีตำแหน่งว่าง
ผู้ใหญ่ที่จะช่วยเหลือสนับสนุน เอาหลักฐานสำคัญไปทำหาย
ร่มโพธิ์ร่มไทรของตนเองล้มหายตายจาก ไม่ทันได้อุ้มชุเลี้ยงดู
อย่างเต็มที่
กฎแห่งกรรม หรือกฎแห่งการกระทำ เที่ยงธรรมเสมอ
เพราะมันฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกของเรา ไม่ได้อยู่ที่อื่น คนอื่น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น