วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557

มีในเล่มนี้ ท่านอ่านรึยัง?





เพื่อนๆ บางคนอาจไม่คุ้นเคยหรือคุ้นเคยกับชื่อ พระพยอม กัลยาโณ แห่งวัดสวนแก้วเป็นแน่ (ปัจจุบัน ดร.พระพยอม กัลยาโณ หรือพระราชธรรมนิเทศ)
                ท่านเคยเทศน์ให้ญาติโยมฟังเรื่องสติของคน
                คนเราต้องมีสติสัมปชัญญะในทุกๆ เรื่อง มิฉะนั้นอาจจะพลั้งพลาด ทำขายหน้าตัวเองได้ง่ายๆ
                ท่านยกตัวอย่างแม่ครัวคนหนึ่ง ซึ่งมีหน้าที่ปรุงอาหารเลี้ยงพระและก็เลี้ยงคนในงานบวช
                งานนี้เป็นงานใหญ่ เพราะเจ้าภาพเป็นคนมีชื่อเสียง มีคนมาช่วยงานเยอะ
                มีโยมหญิงผู้หนึ่งแก่แล้วมาช่วยงาน โดยมีหลานเล็กๆ คนหนึ่งติดตามมาด้วย
                โยมหญิงไปที่ไหน ทำอะไรหลานเกาะแจไม่ยอมห่างยังกะลูกแหง่ว่างั้นเถอะ
                บางครั้งโยมแกหงุดหงิด ทนไม่ไหวก็ตวาดออกมาเสียงดัง ไล่ตะเพิดให้ไปนั่งเล่นกับเพื่อนๆ รุ่นเดียวกันที่มาในงาน
                หลานก็เชื่อ หายไปได้สักประเดี๋ยวก็กลับมาอีก
                เป็นช่วงระยะที่โยมหญิงกำลังถือถาดขนม กลิ่นหอมฉุยจะไปวางไว้ที่หน้าพระสงฆ์ เพื่อให้เจ้าภาพที่กำลังประเคนถวายอาหารอยู่ยังไม่เสร็จ
                ขณะผ่านแขกเหรื่อที่มาในงาน หลานมันเห็นขนมดีๆ ก็คงนึกอยากกินเอามากๆ
                จึงเกาะแข้งเกาะขายายแล้วพูดว่า
                “ยายกินหนม ยายกินหนม...”
                โยมหญิงผู้นั้น ก็ตวาดออกมาด้วยถ้อยคำอันหยาบคายเพราะเหลืออดเหมือนคนไม่มีเศียรของพระธรรมสวมอยู่ในหัวใจว่า
                “เดี๋ยวมึงค่อยแดก ให้พระฉันก่อน...”
                หลานก็เงียบไปได้
                เดินมาใกล้เวทีที่นั่งของพระสงฆ์ หลานก็ร้องขึ้นมาอีกว่า
                “ยายกินหนม ยายกินหนม”
                คราวนี้ยายตวาดหลานอย่างขาดสติกว่าเก่า
                ทั้งพระทั้งโยมแขกเหรื่อที่นั่งกันอยู่จำนวน ได้ยินเสียงตวาดของยายก้องไปทั้งสองหู
                “เดี๋ยวมึงค่อยฉัน ให้พระแดกก่อน...”

วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2557

คำสอนของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ





คำสอนของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ

ถ้าได้ศึกษาเรื่อง ธรรมะคืออะไร
หรือสัพพะธัมมะ (สิ่งทั้งปวง) คืออะไร
โดยดูไปตามเนื้อหาแล้วก็จะรู้ได้ว่า
อัตตาไม่มีจริง เป็นเพียงสมมุติชื่อ
เรียกรวม (รูปธรรม+นามธรรม)
หรือเรียกรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เท่านั้น
เมื่อแยกออกเป็นส่วนประกอบย่อยที่ต่างกัน (แยกเป็นธาตุ)
หรือส่วนที่เป็นใจนั้น
จะเห็นว่าแต่ละธาตุ อนัตตา (ไม่ใช่อัตตา)
เช่น มโนธาตุ หรือส่วนที่เป็นใจนั้น
เป็นส่วนหนึ่งที่แตกต่างจากส่วนอื่น
ซึ่งแน่นอนว่า
ใจก็ อนัตตา (ใจไม่ใช่อัตตา)
ให้ภาวนา เอากายเป็นมรรค เอากายเป็นผล
จงพากัน ละอุปทาน อนิจจังทั้งห้า
ทุกขังทั้งห้า ละรูปธรรม นามธรรมนี้
วางได้ มันก็เป็นธรรมนั่นแหละ
วางไม่ได้ มันก็ยึดเอารูปธรรม นามธรรมเป็นตน
เป็นตัว มันก็เป็น “ธรรมเมา” อยู่นั่นเอง